วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปการเรียนการสอน

การฟังและการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียน ครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กง่ายๆโดยการสังเกตว่า เวลาเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร ถ้าเด็ก รู้สึกเครียด เบื่อ และครูรู้สึกไม่สนุกด้วย

แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1. ครูจะต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้ได้อย่างไร
2. ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ได้เสนอภาษามาบ้างแล้วระหว่างทางจากบ้านถึงโรงเรียน
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้


ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมการพูด
- อธิบายหรือเล่าถึงภาพที่เห็น
- ทำท่าประกอบการพูด
- เล่านิทาน
- ลำดับเรื่องตามนิทาน
- เรียกชื่อตามิทาน
- เรียกชื่อและอธิบายสิ่งของ
- จำและอธิบายลักษณะสิ่งของ
- อธิบายขนาดและสีสิ่งของ

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง
- ฟังประกอบหุ่น
- ฟังและแยกเสียง
- ฟังและทำตามคำสั่ง

ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
1 เริ่มจากตัวเดก้ก่อน
2.สอนแบบเป็นธรรมชาติ
3.สอนอย่างมีความหมาย

ทำไมเราต้องอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กรับประสบการณ์
ควรสอนการอ่านก่อนขึ้นประถมศึกาปีที่ 1 หรือไม่
ควรถ้าเป็นสถานการณ์
- เป็นความปรารถนาที่มาจากตัวเด็ก
ฯลฯ

ไม่ควร ถ้าเป็นสถานการณ์
- คาดหวังในตัวเด็กทำตามเหมือนกันทุกคน
- เน้นควาเงียบ
ฯลฯ

เทคนิคที่ไม่ควร สอนภาษาสำหรับเด็ก
- เน้นความจำ
- เน้นการฝึก
- ใช้การทดสอบ

เทคนิคที่ควร สอนภาษาสำหรับเด็ก
- สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
- สอนสิ่งทีทมีความหมาย

บันทึกการเรียน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน วันนี้เป็นวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เห็นคนที่เรียนจบแล้วรู้สึกปลื้มใจ อย่างบอกไม่ถูกเลย อยากรับปริญญาไวไวจัง วันนี้ในห้องคนก็มาเรียนน้อยมาก จากเนื้อหาที่เรียนพอสรุปได้ดังนี้

- การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน เป็นทักษาะทางภาษา ขึ้นอยู่กับหน่วยการเรียน

- ภาษาอยู่ในกระบวนการของชีวิต
ตัวอย่าง
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ใช้ภาษาในการสื่อสาร เช่น การปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง การปฏิบัติตามสัญญาณ การให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายของเราตามจินตนาการ หรือตามคำบรรยาย
2. กิจกรรมวงกลม เช่น การร้อง พูด อ่าน เขียน บันทึก
3. กิจกรรมกลางแจ้ง มีข้อตกลงในการเล่น
4. กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น

- เกมจับคู่ ใช้เมื่อสนอในขั้นนำ หรือ ขั้นเสริม
- เกมภาพตัดต่อ สามารถใช้ในกิจกรรมกลางแจ้งได้ อย่างเช่น เกมการวิ่งผลัด ให้แข่งกันเด็กต่อภาพให้เสร็จสมบูรณ์
- เกมโดมิโน (ภาพที่นำมาต่อปลาย) สามารถนำมาต่อเป็นรถไฟ
- เกมเรียงลำดับ (มีมิติสัมพันธ์ เหตุกาณณืนั้นสำคัญกับเวลา) เช่น การเรียนลำดับพืช การเรียงลำดับชีวิตประจำวัน
- ภาพอนุกรม การเปลี่ยนแปลงที่ใช้เหตุผล
- ลอตโต คือ ภาพที่มีลายละเอียดอยู่ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
- ภาพพื้นฐานการบวก

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม 2552

วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่รู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากเลย ไม่รู้เป็นอะไรที่ต้องตื่นเต้นทั้งวันเลย... เรียกได้ว่า"ตื่นเต้นอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว" ก็เพราะวันนี้เป็นวันที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ในกลุ่มก็เริ่มซ้อมกันตั้งแต่เช้าเลย สมาชิกในกลุ่มพร้อมใจกันมาแต่เช้าทุกคน

ตอนออกไปรายงานเอาเข้าจริงตื่นเต้นอย่างเลย พอเริ่มเข้าที่เข้าทางก็พอไปไหวอยู่ ค่อยยังชั่วขึ้นหน่อย เพื่อนก็ชอบหัวเราะนะ แต่ที่ยังดีเราไม่หลุดหัวเราะตาม "สติมาปัญญาเกิด"

รูปแบบการนำเสนอของเราเป้นแนวบทบาทสมมติ ก็คือ เป็นแบบรายการทีวี รายการจับไหล่คุย ซึ่งเราก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ตอบคำถามเกี่ยวกับภาษา สำหรับข้อติชม เสนอแนะของอาจารย์ อาจารย์บอกว่า การนำเสนอมีปัญหาในเรื่องของรอยต่อ ที่คนแรกพูดจบและคนหลังต่อ คนที่ 2 ควรพูดต่อว่า "ดิฉันขอเสริมว่า..." คนที่ 3 ก็พูดต่อว่า "จากที่วิทยากรทั้งสองพูดมา ดิฉันขอเพิ่มเติมว่า..."

ส่วนเพื่อนๆกลุ่มอื่น ก็จะนำเสนอเป็นแนวครูกับนักเรียนเสียส่วนมาก

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

การศึกษานอกสถานที่ ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

เมื่อวันพุธที่ 14 มกราคมที่ผ่านมานี้ ดิฉันมีโอกาสได้ไปศึกษานอกสถานที่ จากความกรุณาของอาจารย์ ทำให้ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลมาก

ซึ่งทาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 6 กิจกรรมหลัก โดยเน้นหนักเบาสลับกันไป กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่
- กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมสร้างสรรค์
- กิจกรรมการเล่นตามมุม
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
- กิจกรรมเกมการศึกษา



การศึกษากิจกรรมการเคลื่อนไหวและจัวหวะ





บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม 2552


สวัสดีหลังจากที่ห่างหายไปนานแสนนานเลย ก็กลับมาเจอกันอีกครั้ง หลังปีใหม่ ยังไงก็ขอสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังนะคะ หวังว่าทุกคนคงมัความสุขดีนะ อย่าหยุดปีมีใหม่เพลินล่ะ ยังไงก็ปีใหม่แล้วก็ขอให้ทุกคนขยันๆขึ้นละกันนะ

มาเริ่มเข้าสู่บทเรียนของวันนี้กันเลยนะ

การจัดสภาพแวดล้อม

จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้

การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา

การจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก

- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่
- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน
- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน
- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ
***มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก


ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง

บทบาทของครู

เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ

บรรยากาศการสอนแนวใหม่

เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

การประเมินผล

ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึกการเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง