วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 ธันวาคม 2551

หลังจากที่ห่างหายไปหลายต่อหลายวัน ก็มีโอกาสได้กลับมาบันทึกบล็อกอีกครั้งหนึ่ง ช่วงนี้ทางมหาวิทยาลัยมีกิจกรรมเยอะแยะมากเลย ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเรียนเท่าที่ควร ซึ่งข้าพเจ้าจะขอสรุปต่อจากครั้งที่แล้วดังนี้

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม"อ่าน-เขียน"

- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดการอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักการใช้หนังสือ การเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนได้พร้อมกัน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ
- ให้เด็กได้ขีดเขียน วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ
- ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายการอยากเขียนของเด็ก

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน


ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดยความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น เมื่อเราพูดเล่า สนทนาโต้ตอบกัน


เราอ่านจากหนังสือประเภทต่างๆอ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันช่วยให้เด็กมีความรู้เพิ่มพูนขึ้น

ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายของการเขียน

** จุดสำคัญ คือผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟังเยอะๆ และสอนให้เด็กกวาดสายตา หาความหมายจากภาพ

ขั้นของพัฒนาการทางการอ่าน

ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”

ขั้นที่สอง จะผูกพันกับตัวอักษร

ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก......

ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษร

การรับรู้ด้านพัฒนาการทางเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน

ระยะแรก แยกแยะความต่างระหว่าสัญลักษณ์ เช่น ม. กับ ฆ มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์แทนคำหนึ่งคำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ ใจ


การเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่าง จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

ระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างกับสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม เช่น จากอาจารย์ได้ยกตัวอย่างคือ "พจมรรน"(พี่จ๋ามาเร็วๆนะ)

ใช้ตัวอักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงตัวอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้วเธอบอกว่า “หนูไม่รู้วิธีการอ่าน แต่พ่อหนูรู้ค่ะ”

เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษร

ระยะที่สาม เป็นลักษณะที่เด็กออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กจะเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผน

เด็กจะใช้พยัญชนะเริ่มต้นคำแทนคำต่างๆ เช่น ข.ขน ข.แขน ข.ขิม ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 3 ธันวาคม 2551



เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้าพเจ้าไปต่างจังหวัดจึงไม่ได้มาเรียนและเขียนบันทึกในบล็อก แต่วันพุธที่ผ่านมาอาจารย์ก็ได้สรุปการเรียนการสอนในสัปดาห์ที่แล้วด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่โชคดีมาก ซึ่งจากการเรียนในครั้งนี้ข้าพเจ้าพอสรุปได้ดังนี้
ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสนอของครู (Reflective teaching)"
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางองกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ในทุกเรื่อง
การนำเข้าสู่บทเรียน
- การร้องเพลง
- การใช้คำถาม
- ปริศนาคำทาย
- ความคล้องจอง
- การใช้นิทาน
- เกมส์ เช่น เกมภาพตัดต่อ เกมจับคู่ภาพ
ขั้นสอน
- การสาธิตเป็นกระบวนการทำ เพราะการสาธิตเป็นลำดับขั้นตอน
เพียเจต์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนใหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ ขั้นภายในตนเองโดยเด็กเป็นผู้กระทำ (Active) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง จึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและรายบุคคล
ไวกอตสกี
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการและกิจกรรมนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์
บริบทสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาในการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษาและเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อมๆกัน
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา
"กระบวนการ"
"บรรยากาศการเรียน"
มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในสว่นใด
การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ
การวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
"การฟังและพูดของเด็ก"
เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กใหพูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น การเรียนรู้ประโยคพูดยาวๆ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เด็กวัย 2-3 ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การซักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
"การอ่านและเขียนของเด็ก"
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่านว่า สิ่งที่ประกอบกันขึ้น คือองค์รวมที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมาย

การเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเต่เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จากป้ายโฆษณา จากถุงขนม
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ ครู-เด็ก เรียนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม
"อ่าน-เขียน"
- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551


วันพุธที่ผ่านมา รู้สึกว่าเรียนสนุกมากอีกวันหนึ่ง อาจารย์มีการนำเอาเนื้อหาในแต่ละวิชามาบูรณาการเข้าด้วยกัน ทั้งวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาฯ,วิชานิทานและหุ่นฯ และวิชาการจัดประสบการณ์ทางการเคลื่อนไหวและจังหวะฯ ทำให้สามารถเข้าใจง่ายขึ้น

เนื้อหาที่เรียนพอสรุปได้ดังนี้

- นิทานมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษา คือ
1) ทักษะการพูด
2) ทักษะการฟัง
3) ทักษะการแสดงออกด้วยท่าทาง

- ภาษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ"สมอง" สมองของเด็กทำงานโดย "การซึมซับ" และ "ปรับปรุงสร้าง

- เครื่องมือซึมซับของเด็กคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรม ที่จะบอกให้รู้ว่าเด็กทำอะไรได้-ไม่ได้ ไปตามลำดับอายุ

- พัฒนาการของสมองของเด็ก มีดังนี้
เด็กแรกเกิด - 2 ปี เป็นขั้นของการซึมซับ
เด็กอายุ 2-4 ปี ใช้ภาษาและคำในการสื่อสาร
เด็กอายุ 4-6 ปี เริ่มใช้คำที่ดีขึ้น บอกเหตุผลได้ อย่างที่ตามองเห็น
เด็กอายุ 5 ปี เป็นขั้นอนุรักษ์ เริ่มให้เหตุผล ไม่ได้ตอบตามที่ตามองเห็น

- การใช้คำถามในการถามเด็ก (กิจกรรมวาดภาพ)
1) "หนูนึกถึงอะไรตอนวาดรูปคะ"
2) "รูปนี้หนูอยากให้เป็นอะไรคะ"

การเรียนครั้งนี้มีทั้งหมด 3 กิจกรรมด้วยกัน กิจกรรมแรก คือ อาจารย์ให้ร้องเพลงคนละ 1 เพลง ข้าพเจ้าได้ร้องเพลง "นี่แหละตัวฉัน"

กิจกรรมที่ 2 คือ เป็นกิจกรรมบทบาทสมมติ อาจารย์ให้นำเสนอสินค้าของตัวเองที่คิดว่าเบื่อแล้ว นำเสนอขายให้ดึงดูดผู้บริโภคอยากซื้อมากที่สุด สินค้าที่ข้าพเจ้านำเสนอขายคือ "กล่องดินสอ"
กิจกรรมนี้สามารถนำมาสอนเด็กได้ โดยให้เด็กได้โฆษณา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) ใช้สื่อสารเพื่อบอกลักษณะเด่น คุณลักษณะเด่น ให้ผู้อื่นคล้อยตาม
2) ให้เด็กได้ พูด-ฟัง
3) เด้กได้สังเกตและดึงคุณสมบัติเด่น
4) เด็กได้วิเคราะห์และประโยชน์

กิจกรรมที่ 3 คือ กิจกรรมการกล่าวความดี คือ อาจารย์จะให้นั่งสมาธิและนึกถึงคุณความดีที่เราอยากกระทำ สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากกระทำคือ "ในอนาคต อยากทำงานให้สูงๆ เพื่อที่จะได้มีเงินทองไว้เลี้ยงพ่อแม่"


วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรียนทำบล็อกกับอาจารย์


วันนี้เป็นวันแรกของเทอมนี้เลยที่ได้เข้าห้องคอม ที่ห้อง 238 ของมหาวิทยาลัย ช่างแปลกตาแปลกใจมากเลย จอคอมนี่ใหญ่เบ้อเร่อเลย 555+ น่าขโมยยัดเก็บใส่กระเป๋ากลับบ้าน (ล้อเล่น)
นอกเรื่องมาแล้ว มาเข้าเรื่องดีกว่า ความจริงสมัครเว็บบล็อกนี้ตั้งแต่วันแรกที่อาจารย์สั่งเลย กระตือรือร้นไหมล่ะ 555+ แต่เขียนบล็อกไม่เป็น จะลิงค์ยังไงก็ไม่รู้ ก็เลยต้องรออาจารย์จินตนามาสอน วันนี้สนุกมากๆเลย อาจารย์ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับบล็อกขึ้นเยอะเลย ขอบคุณนะคะอาจารย์ จะตั้งใจทำบล็อกนี้ให้ดีๆที่สุดเลยค่ะ