วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปการเรียนการสอน

การฟังและการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียน ครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กง่ายๆโดยการสังเกตว่า เวลาเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร ถ้าเด็ก รู้สึกเครียด เบื่อ และครูรู้สึกไม่สนุกด้วย

แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1. ครูจะต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้ได้อย่างไร
2. ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ได้เสนอภาษามาบ้างแล้วระหว่างทางจากบ้านถึงโรงเรียน
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้


ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมการพูด
- อธิบายหรือเล่าถึงภาพที่เห็น
- ทำท่าประกอบการพูด
- เล่านิทาน
- ลำดับเรื่องตามนิทาน
- เรียกชื่อตามิทาน
- เรียกชื่อและอธิบายสิ่งของ
- จำและอธิบายลักษณะสิ่งของ
- อธิบายขนาดและสีสิ่งของ

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง
- ฟังประกอบหุ่น
- ฟังและแยกเสียง
- ฟังและทำตามคำสั่ง

ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
1 เริ่มจากตัวเดก้ก่อน
2.สอนแบบเป็นธรรมชาติ
3.สอนอย่างมีความหมาย

ทำไมเราต้องอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กรับประสบการณ์
ควรสอนการอ่านก่อนขึ้นประถมศึกาปีที่ 1 หรือไม่
ควรถ้าเป็นสถานการณ์
- เป็นความปรารถนาที่มาจากตัวเด็ก
ฯลฯ

ไม่ควร ถ้าเป็นสถานการณ์
- คาดหวังในตัวเด็กทำตามเหมือนกันทุกคน
- เน้นควาเงียบ
ฯลฯ

เทคนิคที่ไม่ควร สอนภาษาสำหรับเด็ก
- เน้นความจำ
- เน้นการฝึก
- ใช้การทดสอบ

เทคนิคที่ควร สอนภาษาสำหรับเด็ก
- สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
- สอนสิ่งทีทมีความหมาย

บันทึกการเรียน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน วันนี้เป็นวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เห็นคนที่เรียนจบแล้วรู้สึกปลื้มใจ อย่างบอกไม่ถูกเลย อยากรับปริญญาไวไวจัง วันนี้ในห้องคนก็มาเรียนน้อยมาก จากเนื้อหาที่เรียนพอสรุปได้ดังนี้

- การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน เป็นทักษาะทางภาษา ขึ้นอยู่กับหน่วยการเรียน

- ภาษาอยู่ในกระบวนการของชีวิต
ตัวอย่าง
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ใช้ภาษาในการสื่อสาร เช่น การปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง การปฏิบัติตามสัญญาณ การให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายของเราตามจินตนาการ หรือตามคำบรรยาย
2. กิจกรรมวงกลม เช่น การร้อง พูด อ่าน เขียน บันทึก
3. กิจกรรมกลางแจ้ง มีข้อตกลงในการเล่น
4. กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น

- เกมจับคู่ ใช้เมื่อสนอในขั้นนำ หรือ ขั้นเสริม
- เกมภาพตัดต่อ สามารถใช้ในกิจกรรมกลางแจ้งได้ อย่างเช่น เกมการวิ่งผลัด ให้แข่งกันเด็กต่อภาพให้เสร็จสมบูรณ์
- เกมโดมิโน (ภาพที่นำมาต่อปลาย) สามารถนำมาต่อเป็นรถไฟ
- เกมเรียงลำดับ (มีมิติสัมพันธ์ เหตุกาณณืนั้นสำคัญกับเวลา) เช่น การเรียนลำดับพืช การเรียงลำดับชีวิตประจำวัน
- ภาพอนุกรม การเปลี่ยนแปลงที่ใช้เหตุผล
- ลอตโต คือ ภาพที่มีลายละเอียดอยู่ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
- ภาพพื้นฐานการบวก

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม 2552

วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่รู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากเลย ไม่รู้เป็นอะไรที่ต้องตื่นเต้นทั้งวันเลย... เรียกได้ว่า"ตื่นเต้นอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว" ก็เพราะวันนี้เป็นวันที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ในกลุ่มก็เริ่มซ้อมกันตั้งแต่เช้าเลย สมาชิกในกลุ่มพร้อมใจกันมาแต่เช้าทุกคน

ตอนออกไปรายงานเอาเข้าจริงตื่นเต้นอย่างเลย พอเริ่มเข้าที่เข้าทางก็พอไปไหวอยู่ ค่อยยังชั่วขึ้นหน่อย เพื่อนก็ชอบหัวเราะนะ แต่ที่ยังดีเราไม่หลุดหัวเราะตาม "สติมาปัญญาเกิด"

รูปแบบการนำเสนอของเราเป้นแนวบทบาทสมมติ ก็คือ เป็นแบบรายการทีวี รายการจับไหล่คุย ซึ่งเราก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ตอบคำถามเกี่ยวกับภาษา สำหรับข้อติชม เสนอแนะของอาจารย์ อาจารย์บอกว่า การนำเสนอมีปัญหาในเรื่องของรอยต่อ ที่คนแรกพูดจบและคนหลังต่อ คนที่ 2 ควรพูดต่อว่า "ดิฉันขอเสริมว่า..." คนที่ 3 ก็พูดต่อว่า "จากที่วิทยากรทั้งสองพูดมา ดิฉันขอเพิ่มเติมว่า..."

ส่วนเพื่อนๆกลุ่มอื่น ก็จะนำเสนอเป็นแนวครูกับนักเรียนเสียส่วนมาก

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

การศึกษานอกสถานที่ ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

เมื่อวันพุธที่ 14 มกราคมที่ผ่านมานี้ ดิฉันมีโอกาสได้ไปศึกษานอกสถานที่ จากความกรุณาของอาจารย์ ทำให้ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลมาก

ซึ่งทาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 6 กิจกรรมหลัก โดยเน้นหนักเบาสลับกันไป กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่
- กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมสร้างสรรค์
- กิจกรรมการเล่นตามมุม
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
- กิจกรรมเกมการศึกษา



การศึกษากิจกรรมการเคลื่อนไหวและจัวหวะ





บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม 2552


สวัสดีหลังจากที่ห่างหายไปนานแสนนานเลย ก็กลับมาเจอกันอีกครั้ง หลังปีใหม่ ยังไงก็ขอสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังนะคะ หวังว่าทุกคนคงมัความสุขดีนะ อย่าหยุดปีมีใหม่เพลินล่ะ ยังไงก็ปีใหม่แล้วก็ขอให้ทุกคนขยันๆขึ้นละกันนะ

มาเริ่มเข้าสู่บทเรียนของวันนี้กันเลยนะ

การจัดสภาพแวดล้อม

จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้

การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา

การจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก

- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่
- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน
- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน
- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ
***มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก


ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง

บทบาทของครู

เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ

บรรยากาศการสอนแนวใหม่

เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

การประเมินผล

ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึกการเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 ธันวาคม 2551

หลังจากที่ห่างหายไปหลายต่อหลายวัน ก็มีโอกาสได้กลับมาบันทึกบล็อกอีกครั้งหนึ่ง ช่วงนี้ทางมหาวิทยาลัยมีกิจกรรมเยอะแยะมากเลย ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเรียนเท่าที่ควร ซึ่งข้าพเจ้าจะขอสรุปต่อจากครั้งที่แล้วดังนี้

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม"อ่าน-เขียน"

- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดการอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักการใช้หนังสือ การเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนได้พร้อมกัน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ
- ให้เด็กได้ขีดเขียน วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ
- ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายการอยากเขียนของเด็ก

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน


ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดยความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น เมื่อเราพูดเล่า สนทนาโต้ตอบกัน


เราอ่านจากหนังสือประเภทต่างๆอ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันช่วยให้เด็กมีความรู้เพิ่มพูนขึ้น

ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายของการเขียน

** จุดสำคัญ คือผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟังเยอะๆ และสอนให้เด็กกวาดสายตา หาความหมายจากภาพ

ขั้นของพัฒนาการทางการอ่าน

ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”

ขั้นที่สอง จะผูกพันกับตัวอักษร

ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก......

ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษร

การรับรู้ด้านพัฒนาการทางเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน

ระยะแรก แยกแยะความต่างระหว่าสัญลักษณ์ เช่น ม. กับ ฆ มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์แทนคำหนึ่งคำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ ใจ


การเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่าง จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

ระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างกับสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม เช่น จากอาจารย์ได้ยกตัวอย่างคือ "พจมรรน"(พี่จ๋ามาเร็วๆนะ)

ใช้ตัวอักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงตัวอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้วเธอบอกว่า “หนูไม่รู้วิธีการอ่าน แต่พ่อหนูรู้ค่ะ”

เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษร

ระยะที่สาม เป็นลักษณะที่เด็กออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กจะเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผน

เด็กจะใช้พยัญชนะเริ่มต้นคำแทนคำต่างๆ เช่น ข.ขน ข.แขน ข.ขิม ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 3 ธันวาคม 2551



เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้าพเจ้าไปต่างจังหวัดจึงไม่ได้มาเรียนและเขียนบันทึกในบล็อก แต่วันพุธที่ผ่านมาอาจารย์ก็ได้สรุปการเรียนการสอนในสัปดาห์ที่แล้วด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่โชคดีมาก ซึ่งจากการเรียนในครั้งนี้ข้าพเจ้าพอสรุปได้ดังนี้
ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสนอของครู (Reflective teaching)"
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางองกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ในทุกเรื่อง
การนำเข้าสู่บทเรียน
- การร้องเพลง
- การใช้คำถาม
- ปริศนาคำทาย
- ความคล้องจอง
- การใช้นิทาน
- เกมส์ เช่น เกมภาพตัดต่อ เกมจับคู่ภาพ
ขั้นสอน
- การสาธิตเป็นกระบวนการทำ เพราะการสาธิตเป็นลำดับขั้นตอน
เพียเจต์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนใหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ ขั้นภายในตนเองโดยเด็กเป็นผู้กระทำ (Active) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง จึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและรายบุคคล
ไวกอตสกี
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการและกิจกรรมนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์
บริบทสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาในการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษาและเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อมๆกัน
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา
"กระบวนการ"
"บรรยากาศการเรียน"
มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในสว่นใด
การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ
การวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
"การฟังและพูดของเด็ก"
เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กใหพูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น การเรียนรู้ประโยคพูดยาวๆ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เด็กวัย 2-3 ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การซักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
"การอ่านและเขียนของเด็ก"
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่านว่า สิ่งที่ประกอบกันขึ้น คือองค์รวมที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมาย

การเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเต่เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จากป้ายโฆษณา จากถุงขนม
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ ครู-เด็ก เรียนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม
"อ่าน-เขียน"
- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด